วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

"อยากรวย ต้องรู้"

บัญญัติ 10 ประการ "อยากรวย ต้องรู้"

  1. "ความรู้ทางการเงิน" สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า "ความรู้ทางการงาน" เพราะในชีวิตของคนเราทุกคนนั้น จะมีช่วงที่จะสามารถหา "รายได้จากการทำงาน" (you at work) จำกัด และจะต้องมีชีวิตหลังเกษียณค่อนข้างยาวนาน จึงต้องรู้วิธีที่จะ "ใช้เงินให้ทำงาน" (money at work)
  2. การออมเป็น "เกมแห่งระยะเวลา" (game of time) ใครเริ่มต้นก่อน ก็รวยก่อน เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ยิ่งได้เป็นกอบเป็นกำ ถือเป็น "เงื่อนไขจำเป็น" ของทุกคนที่มีเป้าหมายต้องการบรรลุสู่อิสรภาพทางการเงิน
  3. การลงทุนเป็น "เกมแห่งจังหวะเวลา" (game of timing) ต้องรู้จังหวะในการเข้าออกจากตลาดที่เหมาะสม ซื้อเมื่อต่ำ ขายเมื่อสูง หยุดเมื่อสงสัย เพราะถ้าหากเข้าผิดจังหวะ ยิ่งทิ้งไว้นาน จะยิ่งเสียหายมาก และทำให้โอกาสที่จะได้ทุนคืนยากขึ้นเรื่อยๆ (losses are harder to regain)
  4. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การตัดสินใจซื้อสินค้าสำเร็จรูป (product) แบบที่ตัดสินใจตอนซื้อครั้งเดียวจบ ถ้าไม่ได้ผล หรือใช้แล้วไม่พอใจ ก็ทิ้งมันไว้เฉยๆ จริงๆ แล้วการลงทุนเป็นกระบวนการ (process) ที่ต้องมีการเอาใจใส่ ติดตามผล และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา
  5. หนทางไปสู่ความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเส้นทางเดียว จุดสำคัญในการบริหารการลงทุนนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ วิธีการ หรือสไตล์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเพียง "เกมภายนอก" (outer game) แต่เป็นเรื่องของทัศนคติ วิธีคิด พลังใจ ซึ่งเป็น "เกมภายใน" (inner game)
  6. ลำพังแค่การ "เอาชนะดัชนี" (beat the index) ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ไม่มีใคร "เอาชนะตลาด" (beat the market) ได้ เคล็ด (ไม่) ลับในการจะยืนหยัดอยู่ในเกมการลงทุนอย่างตลอดรอดฝั่งในฐานะ "ผู้ชนะ" นั้น อยู่ที่การยืนอยู่ข้างเดียวกับตลาดไม่ใช่ฝืนตลาด
  7. ความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน จริงๆ แล้วมันอาจเปรียบได้กับการวิ่งแข่งระยะไกล (marathon) ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร (sprint) ดังนั้น คุณจะต้อง "รู้จักตัวเอง" (know yourself) ว่าอะไรคือสไตล์การลงทุนที่เหมาะสมที่เข้ากันได้กับความสามารถในการรับความเสี่ยง (risk attitude) และทักษะในการลงทุน (risk aptitude) เพราะนั่นคือ "ระบบ" ที่คุณต้องใช้ในเพื่อ "ทำธุรกิจ" นี้ในระยะยาว
  8. ในการใช้เงินต่อเงินนั้น คุณต้อง "รู้จักเครื่องมือ" (know the vehicle) ว่ามีลักษณะและรูปแบบการให้ผลตอบแทนอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดอะไรบ้าง
  9. นอกจากนี้ คุณต้อง "รู้จักตลาด" (know the market) คือ รู้ว่าตลาดการเงินมีธรรมชาติเป็นอย่างไร อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงของตลาด และรู้วิธีการในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนว่าต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
  10. อย่าติดอยู่ในกับดักของ "การบริโภคข้อมูลเกินขนาด" (information overload) ซึ่งมัวแต่สนใจหาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ จนไม่กล้าลงมือปฏิบัติ (analysis paralysis) เพราะมีความเชื่ออย่างผิดๆ แบบพวกมองโลกสมบูรณ์แบบ (perfectionist) ว่าถ้ามีข้อมูลที่สมบูรณ์จะไม่เกิดความผิดพลาด (zero-defect mentality) จริงๆ แล้ว หัวใจสำคัญของการบริหารการลงทุนนั้นอยู่ที่การ "จำกัดความเสี่ยง" (risk limitation) ไม่ใช่ "กำจัดความเสี่ยง" (risk elimination) ถ้าถามว่ากฎที่สำคัญที่สุดที่สรุปได้จากการปฏิบัติ (rule of thumb) ของผู้เขียนหนังสือชุด "อยากรวย ต้องรู้" คืออะไร ก็อยากตอบว่า rule of "ทำ" นั่นคือ "รู้แล้วต้องลงมือทำ" เพราะในภาษาอังกฤษ คำว่า "โชคลาภ" (luck) เป็นตัวย่อของ Laboring Under Correct Knowledge แปลว่า "ลงมือทำ ด้วยความพากเพียร โดยอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง" นั่นเอง

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

นักเก็งกำไร

หลายคนอาจจะสับสนว่าจริงแล้ว การเล่นหุ้นเป็นการพนันหรือเปล่า เพราะมันสามารถทำกำไรหรือขาดทุนมหาศาล ได้ในพริบตา โดยเมื่อทุกคนได้สัมผัสการเล่นหุ้นแล้ว ก็จะรู้ว่าความโลภมักจะตามมาครอบงำเสมอ ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ นักลงทุน ขาดสติและจะแปลงร่างเป็นนักพนันทันที นั่นก็คือ "เสียแล้วอยากเอาคืน ได้แล้วอยากได้อีก" ดังนั้นหากคุณจะเป็นผู้นึงที่อยู่รอดในเกมส์(ตลาดหุ้น) นี้คุณ จะต้องเรียนรู้ถืงความแตกต่างระหว่างนักเก็งกำไร(นักลงทุน)และนักพนัน

ความแตกต่างระหว่าง นักเก็งกำไร(นักลงทุน)และนักพนัน

“นักเก็งกำไรต้องสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดี รู้จัก Upside Gain and Downside Risk หรือเลือกลงทุน แบบ Low Risk and High Return ได้”


“ต้องรู้ว่าเมื่อใดควร Cut Loss และเมื่อใด ควร Let Profit Run”


“โดยสรุปแล้วควรมีการวางแผน เฝ้าสังเกตการณ์ และการป้องกันความเสียหายด้วยการป้องกันต้นทุน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง”

ส่วนนักเก็งกำไรระดับโลก อย่าง Jesse Livermore ก็มีการพูดถึงปรัญญาการเป็นนักลงทุน ที่ดีเลยทีเดียว ครับ เพราะเขาพูดถึงว่าหากคุณจะเป็น นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ จะเป็นคนช่างสังเกต มีความจำและมีหัวทางคณิตศาสตร์ที่ดี นอกจากนี้ จะต้องไม่เสี่ยงโดยไร้เหตุผล หรือในสิ่งที่คาดหวังไม่ได้ โดยหากสิ่งที่คาดหวังไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย เขาก็จะจดจำ และประเมินออกมาให้เป็นความน่าจะเป็น ถึงจะยอมเลือกเสี่ยงเมื่อประเมิณความเสี่ยงได้


Wisdom of Jesse Livermore
“ Observation, experience, memory and mathematics. These are what the successful trader must depend on. He must not only observe accurately but remember at all times what he has observed. He cannot bet on the unreasonable or on the unexpected, however strong his personal convictions may be about man's unreasonableness or however certain he may feel that the unexpected happens very frequently. He must bet always on probabilities. That is, try to anticipate them. Years of practice at the game, of constant study, of always remembering, enable the trader to act on the instant when the unexpected happens as well as when the expected comes to pass. “

ดังนั้นหากจะลบจุดอ่อนต่างๆ คุณอาจจะต้องคิดพิจารณาว่าอะไร คือสิ่งที่ไม่ควรทำในการลงทุน

  1. ลงทุนเกินตัว เช่น การเล่น Net settlement การกู้เงินมาเล่น หรือเงินที่ต้องใช้จ่ายในระยะสั้น เพราะจะทำให้คุณเกิดความกลัว และทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
  2. รอความแน่นอน การรอข่าวสารหรือสิ่งยืนยันที่ชัดเจน เช่นข่าวจาก นสพ.หรือรอให้ทุกคนเห็นด้วย บางครั้งก็ช้าไปเสียแล้ว
  3. ยึดติดกับความฝันหรือตัวเลขของกำไร ทำให้คุณไม่กล้าที่จะขายหากหุ้นเปลี่ยนทิศทาง
  4. คิดวาดฝันหรือจิตนาการขึ้นเอง
  5. ไม่ทำตามแผนที่วางไว้
  6. ไม่รู้ว่าจะหยุดขาดทุนเมื่อไหร่
  7. มีความมั่นใจเกินไป
  8. หลงไหลในหุ้น

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550

กฏ เมื่อมี กฏก็ต้องเคารพ

กฎ ทั้ง10 ข้อนี้ เป็นหลักการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการลงทุน เพราะหากไม่มีหลักการดังกล่าวแล้ว เราก็จะไม่สามารถกำหนดการซื้อขายที่เป็นรูปแบบได้ ซึ่งในกฎเหล่านี้จะพูดถึงการวิเคราะห์แนวโน้ม , หาจุดกลับตัว, ติดตามค่าเฉลี่ย, มองหาสัญญาณเตือน และอื่นๆ
หากท่านสามารถเข้าใจและปฎิบัติตามหลักการเหล่านี้ได้ผมเชื่อว่าท่าน ก็สามารถเอาตัวรอด ด้วยการลงทุนโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้ครับ

1. ดูแนวโน้ม
เรียนรู้ชาร์ตในระยะยาว โดยเริ่มการวิเคราะห์ชาร์ตในระดับเดือนและสัปดาห์ ของช่วงเวลาหลายๆปี การดูชาร์ตในระดับของช่วงเวลาที่กว้างขึ้นจะทำให้สามารถมองเป็นแนวโน้มของตลาดในระยะยาวได้ชัดเจนขึ้น เมื่อทราบถึงแนวโน้มระยะยาวแล้ว จึงจะดูชาร์ตในระดับวันและนาที การดูแนวโน้มในช่วงสั้นเพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนในระยะสั้น คุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหากคุณลงทุนในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะกลางและยาว

2. วิเคราะห์และไปตามแนวโน้ม
แนวโน้มของตลาดมีหลายช่วงเวลา ระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น สิ่งแรกคือ คุณต้องรู้ว่าคุณจะลงทุนในระยะเวลาเท่าใด และวิเคราะห์ชาร์ตของช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยที่คุณต้องแน่ใจว่าคุณลงทุนไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มในระยะเวลานั้นๆ ซื้อเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาขึ้น และขายเมื่อแนวโน้มอยู่ในขาลง หากคุณลงทุนในระยะกลาง ให้ใช้ชาร์ตในระดับวันและสัปดาห์ ถ้าคุณลงทุนระยะสั้น ให้ใช้ชาร์ตระดับวันและรายนาที อย่างไรก็ตาม ในแต่ละกรณี ให้ดูแนวโน้มของช่วงเวลาที่ยาวขึ้น และใช้ชาร์ตของช่วงเวลาที่สั้นลงในการหาจุดที่จะเข้าซื้อ-ขาย

3. หาจุดสูงสุดและต่ำสุด
วิเคราะห์แนวรับและแนวต้าน จุดที่ดีที่สุดในการเข้าซื้อก็คือจุดใกล้แนวรับซึ่งมักจะเป็นจุดต่ำสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว จุดที่ดีที่สุดสำหรับการขายก็คือจุดที่ใกล้แนวต้าน ซึ่งมักจะเป็นจุดสูงสุดของรอบการซื้อขายที่แล้ว หากมีการเคลื่อนผ่านแนวต้าน แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับสำหรับการปรับตัวลดลง อีกนัยหนึ่ง จุดสูงสุดเดิมกลายเป็นจุดสูงสุดใหม่ และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่ราคาทะลุผ่านแนวรับ มักจะมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้จุดต่ำสุดเดิมกลายเป็นจุดต่ำสุดใหม่

4. รู้ว่าจะไปไกลแค่ไหนจึงจะกลับตัว
เทียบอัตราส่วนการขึ้น-ลง เป็นเปอร์เซนต์ โดยทั่วไปตลาดจะมีการกลับตัวทั้งขึ้นและลงตามสัดส่วนเปอร์เซนต์ของแนวโน้มของช่วงก่อน คุณสามารถวัดอัตราส่วนของการปรับตัวขึ้นหรือลงของแนวโน้มปัจจุบันได้โดยใช้อัตราส่วนชุดหนึ่งที่มีการกำหนดค่าไว้แล้ว เช่น การกลับตัวขึ้นหรือลง 50%ของแนวโน้มก่อน เป็นอัตราพื้นฐานที่ใช้กันบ่อย อัตราส่วนต่ำสุดของการวัดการดีดกลับ คือ 1/3 ของแนวโน้มก่อน และอัตราส่วนสูงสุดคือ 2/3 อัตราส่วนที่สำคัญและควรให้ความสนในก็คือ อัตราส่วน Fibonacci 36% และ 62% ดังนั้น เมื่อตลาดมีการพักในช่วงแนวโน้มขาขึ้น จะมีจุดซื้อคืนจุดแรกเมื่อตลาดปรับตัวลง 33-38% ของจุดสูงสุด

5. ใช้เส้นแนวโน้ม
เส้นแนวโน้มเป็นหนึ่งในเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีเพียงขอบเขตที่เส้นแนวโน้มแสดงและจุด 2 ตำแหน่งบนชาร์ต เส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดต่ำสุด 2 จุด ที่อยู่ใกล้กัน และเส้นแนวโน้มขาขึ้นวาดโดยใช้จุดสูงสุด 2 จุดใกล้กัน ราคาของหุ้นมักจะเคลื่อนเข้าใกล้เส้นแนวโน้มก่อนที่จะเคลื่อนกลับเข้าสู่แนวโน้มของมัน หากราคาทะลุผ่านเส้นแนวโน้ม จะแสดงถึงสัญญาณของการเปลี่ยนแนวโน้ม เส้นแนวโน้มจะมีผลเมื่อราคาเคลื่อนแตะที่เส้น 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เส้นแนวโน้มที่ลากได้ยิ่งยาว หมายถึง จำนวนครั้งมากขึ้นของการทดสอบเส้นแนวโน้ม และยิ่งทำให้เส้นแนวโน้มมีความสำคัญมากขึ้น

6. ติดตามค่าเฉลี่ย
หมายถึงการเคลื่อนไหวของเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งจะบอกถึงราคาเป้าหมายที่จะซื้อและขาย เส้นค่าเฉลี่ยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าราคาอยู่ในแนวโน้มเช่นใดและช่วยยืนยันสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม เส้นค่าเฉลี่ยไม่ใช่เครื่องมือที่จะบอกล่วงหน้าว่าแนวโน้มกำลังจะเปลี่ยน รูปแบบของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นที่นิยมคือการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นเพื่อหาจุดซื้อ-ขาย ค่าที่นิยมใช้สำหรับค่าเฉลี่ยที่ใช้คู่กันคือ 5 วันและ10 วัน, 10 วันและ25วัน, 25 วันและ 50 วัน สัญญาณซื้อ-ขายเกิดขึ้นเมื่อเส้นที่มีค่าเฉลี่ยสั้นกว่าตัดกับเส้นที่ยาวกว่า หรือ เมื่อราคาเคลื่อนผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 25 วัน เนื่องจากเส้นค่าเฉลี่ยต่างๆเป็นดัชนีที่เคลื่อนไปตามแนวโน้ม การใช้เส้นค่าเฉลี่ยจึงเหมาะสำหรับตลาดที่ในช่วงที่มีแนวโน้มที่ชัดเจน

7. รู้ถึงจุดที่ตลาดกลับตัว
Oscillators (เครื่องมือที่มีตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 100) เป็นดัชนีที่ช่วยชี้บอกจุดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไป ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยจะช่วยยืนยันว่าตลาดการเปลี่ยนแนวโน้ม Oscillators จะช่วยเตือนล่วงหน้าว่าตลาดเคลื่อนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป และทำให้เกิดการกลับตัว Oscillators ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Relative Strength Index (RSI) และ Stochastics ทั้งสองตัวนี้จัดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า Oscillators เพราะให้ค่าที่อยู่ในช่วง 0 ถึง 100 เมื่อ RSI มีค่าเกิน 70 จะแสดงถึงการซื้อที่มีมากเกินไป (Overbought) และ ต่ำกว่า 30 แสดงถึงการขายมากเกินไป (Oversold) ค่า Overbought และ Oversold สำหรับ Stochastics คือ 80 และ 20 นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ค่า 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับการคำนวณ Stochastics และ 9 หรือ 14 วันหรือสัปดาห์สำหรับ RSI สัญญาณกลับตัวที่เกิดใน Oscillators จะเป็นสัญญาณเตือนว่าตลาดกำลังจะกลับตัว เครื่องมือเหล่านี้ใช้ได้ดีเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่เหมาะกับการเล่นเก็งกำไรและไม่แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน สัญญาณในระดับสัปดาห์สามารถนำมาใช้ช่วยในการขจัดสัญญาณหลอกและยืนยันสัญญาณในระดับวัน และใช้สัญญาณระดับวันสำหรับยืนยันสัญญาณในรายนาที

8. มองเห็นสัญญาณเตือน
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นดัชนีวัด (พัฒนาโดย Gerald Appel) ที่รวมเอาระบบการตัดผ่านของเส้นค่าเฉลี่ยและการชี้จุด Overbought/Oversold ของ Oscillators ไว้ด้วยกัน สัญญาณซื้อจะเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดขึ้นเหนือเส้นที่ช้ากว่า โดยที่ทั้ง 2 เส้นอยู่ต่ำกว่าศูนย์ สัญญาณขายเกิดเมื่อเส้นที่เร็วกว่าตัดลงต่ำกว่าเส้นที่ช้ากว่าที่เหนือศูนย์ สัญญาณในระดับสัปดาห์จะมีน้ำหนักและความสำคัญมากกว่าสัญญาณในระดับวัน MACD histogram ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่ง แสดงถึงส่วนต่างระหว่าง MACD ทั้งสองเส้น สามารถส่งสัญญาณเตือนว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มได้เร็วกว่าอีกด้วย

9. เป็นแนวโน้มหรือไม่เป็นแนวโน้ม
Average Directional Index (ADX) เป็นดัชนีที่จะบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงที่มีแนวโน้มหรือไม่ และเป็นตัวช่วยวัดว่าแนวโน้มนั้นอยู่ในระดับใด เส้น ADX ที่ชี้ขี้นแสดงถึงแนวโน้มที่มีความชัดเจนมาก ควรใช้เส้นค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ หากเส้น ADX ปรับตัวต่ำลง แสดงถึงตลาดที่ไม่มีแนวโน้มและเหมาะสำหรับเก็งกำไรระยะสั้น ควรใช้ Oscillators ในการวิเคราะห์ การใช้ ADX ช่วยนักลงทุนในการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและในการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด

10. รู้จักการดูสัญญาณเพื่อยืนยันแนวโน้ม
สัญญาณที่ให้การยืนยันรวมถึงปริมาณการซื้อขายและจำนวนการซื้อขายที่มีการลงทุนจากผู้ที่เข้ามาซื้อขายใหม่ (open interest) ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการยืนยันแนวโน้มสำหรับตลาดล่วงหน้า ปริมาณการซื้อขายมักจะส่งสัญญาณกลับตัวก่อนที่ราคาจะกลับตัว สิ่งสำคัญคือจะต้องมั่นใจว่ามีปริมาณการซื้อขายอย่างหนาแน่นในทิศทางเดียวกับแนวโน้มปัจจุบัน ในแนวโน้มขาขึ้น ควรมีปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อยืนยันว่าแนวโน้มนั้นยังแข็งแรงอยู่ ส่วน open interest ที่เพิ่มขึ้นนั้นจะช่วยยืนยันว่ามีเงินไหลเข้ามาต่อเนื่องและช่วยหนุนให้แนวโน้มปัจจุบันคงอยู่ หาก open interest ลดลง ย่อมเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มนั้นใกล้สิ้นสุดลง ดังนั้นราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นควรจะมีปริมาณซื้อขายและ open interest หนุนอยู่ด้วย

รวยจุด

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Gu@GJ




GJ 1day@4h

GU 1day@ 4h

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีดาว

ทฤษฎีดาวถูกคิดค้นขึ้นโดยนายชาร์ลส์ เอช ดาว (Charles H. Dow) ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว แต่กฏ และหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน หลักการนี้มิได้พูดถึงเพียงการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น แต่สิ่งนี้ถือเป็นปรัญญาของตลาดหุ้น ที่อธิบายถึงพฤติกรรมของตลาดหุ้นที่ยังคงเหมือนเดิม เกิดขึ้นซ้ำๆเฉกเช่นเดียวกัน กับตลาดหุ้นเมื่อ 100ปีที่แล้ว


ดาว ได้พัฒนา การวิเคราะห์ตลาดหุ้น จนเกิดเป็นทฤษฏีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902 ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของ และเป็นบรรณาธิการของ หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal แม้ว่าเขาจะไม่ได้เขียนหนังสือของตัวเองก็ตาม แต่เขาก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือ หลายเล่มในการ ให้ความเห็นด้านการเก็งกำไร และ กฎ industrial average
หลังจากที่ดาวเสียชีวิตแล้ว ก็มี หนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฎษฎีของเขามากมายเช่น The ABC of Stock Speculation, The Stock Market Barometer เป็นต้น


ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

ตลาดขาขึ้น – ขั้นที่ 1 – สะสม
ฮามิลตัน (Hamilton) กล่าวไว้ว่าในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลง เพราะคนส่วนยังมองในแง่ลบและทำให้แรงซื้อยังคงชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้น ประกอบกับไม่มีข่าวดี ทำให้ราคาประเมินของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเช่นนี้เป็นช่วงที่ผู้ที่ลงทุนอย่างฉลาดจะเริ่มสะสมหุ้น และเป็นช่วงที่ผู้ที่มีความอดทนและใจเย็นพอที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้จนกระทั่งราคาดีดกลับ บางครั้งหุ้นมีราคาถูก แต่กลับไม่มีใครต้องการ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ วอเรน บัฟเฟท ได้กล่าวไว้ในช่วงฤดูร้อนของปี 1974 ว่าตอนนี้ได้เวลาที่จะซื้อหุ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ
ในระยะแรกของตลาดขาขึ้น ราคาหุ้นจะเริ่มเข้าใกล้จุดต่ำสุด แล้วค่อยๆยกตัวขึ้น เมื่อตลาดเริ่มกลับตัวขึ้น คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดกำลังจะปรับตัวขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของขาขึ้น หลังจากตลาดยกตัวสูงขึ้นและดิ่งกลับลงมา จะมีแรงขายออกมา เป็นการบอกว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในช่วงนี้เองที่จะต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังว่าการปรับตัวลงมีนัยยะสำคัญหรือไม่ หากไม่มีนัยยะสำคัญ จุดต่ำสุดของการลงจะยกสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดเดิม สิ่งที่ตามมาคือตลาดจะเริ่มสะสมตัวและมีการแกว่งตัวน้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับตัวสูงขึ้น และหากราคาเคลื่อนขึ้นเหนือจุดสูงสุดเดิม จะเป็นการยืนยันถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น

ตลาดขาขึ้น – ขั้นที่ 2 – การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
ขั้นที่ 2 มักจะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่กิจการต่างๆเริ่มฟื้นตัว มูลค่าหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ช่วงนี้จึงถือได้ว่าเป็นช่วงที่สามารถทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีผู้เข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดมากขึ้น

ตลาดขาขึ้น – ขั้นที่ 3 – เกินมูลค่า
ระยะที่ 3 ของตลาดขาขึ้น เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ (ดาวได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่เหตุการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยในปัจจุบัน) ในขั้นสุดท้ายนี้ ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ค่าที่ประเมิน สูงเกินไป และความมั่นใจมีมากเกินปกติ จึงเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนกลับของขั้นที่ 1

ตลาดขาลง – ขั้นที่ 1 – กระจาย
เมื่อการสะสมเป็นขั้นที่ 1 ของขาขึ้น การกระจายก็คือขั้นแรกของขาลง นักลงทุนที่ฉลาด จะไหวตัวทันว่าธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันไม่ได้ดีอย่างที่เคยคิด และเริ่มขายหุ้นออก แต่คนอื่นๆยังคงอยู่ในตลาดและยังพอในที่จะซื้อในราคาที่สูง จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่ขาลง อย่างไรก็ตาม จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว
เมื่อตลาดปรับตัวลง คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดเข้าสู่ขาลง และยังมองตลาดในแง่ดี ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวลงพอประมาณ จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อย ฮามิลตันกล่าวว่าการกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้จะค่อนข้างรวดเร็วและรุนแรง ดังเช่นที่ฮามิลตันได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับการกลับตัวที่ไม่มีนัยยะสำคัญนี้ ว่าส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม จะสูงสุดใหม่จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และหลังจากนั้น หากราคาทะลุผ่านจุดต่ำสุดเดิม นั่นจะเป็นการยืนยันถึงขั้นที่ 2 ของตลาดขาลง

ตลาดขาลง – ขั้นที่ 2 – การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่
เช่นเดียวกับตลาดในขาขึ้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แนวโน้มเด่นชัดและกิจการต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการณ์รายได้และกำไรลดลง หรืออาจถึงขาดทุน เมื่อผลประกอบการแย่ลง แรงขายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดขาลง – ขั้นที่ 3 – สิ้นหวัง
ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น ความคาดหวังมีมากจนถึงขั้นมากเกินไป ในตลาดขาลงขั้นสุดท้าย ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าที่ประเมิน ต่ำมาก แต่ยังคงมีแรงขายอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกคนในตลาดพยายามที่จะถอนตัวออก มีข่าวร้ายเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองเศรษฐกิจตกต่ำ จึงไม่มีผู้ใดต้องการซื้อ ตลาดจะยังคงลดต่ำลงจนกระทั่งข่าวร้ายทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว เมื่อราคาสะท้อนถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว วัฐจักรก็จะเริ่มต้นอีกครั้ง


บทสรุปของทฤษฎีดาว
จุดประสงค์ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้ม และ สามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้ พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริงทั้งในด้านบวกและลบ พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มและเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้ม แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดถึงแนวโน้มใหม่
ทฤษฎีดาวช่วยให้นักลงทุนเรียนรู้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตั้งข้อสมมติฐานและคาดการณ์ล่วงหน้า การตั้งข้อสมมติฐานเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับนักลงทุน เพราะการคาดเดาตลาดเป็นเรื่องยาก ฮามิลตันเองยอมรับว่าทฤษฎีดาวนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ในขณะที่ทฤษฎีดาวสามารถให้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ของนักลงทุน
การอ่านเกมตลาดเป็นศาสตร์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงจากตลาด ดังนั้นกฎของฮามิลตันและดาวจึงมีข้อยกเว้น พวกเขามีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากการศึกษาที่จริงจังและการวิเคราะห์ที่มีทั้งความสำเร็จและความผิดพลาด ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าหลงระเริง ขณะเดียวกัน ความผิดพลาด ถึงแม้จะเจ็บปวด แต่จะให้บทเรียนที่มีค่า การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝน เรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและล้มเหลวด้วยการมองไปข้างหน้า

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

รวยจุดครั้งที่ 5

ผ่านไปหนึ่งวัน แบบใจเย็นๆ

gu4h คลื่นๆก่อนรวยจุด

เทคนิค ก่อนรวยจุด

เข้าๆออกๆ แบบตามเทคนิค เมื่อมีโอกาสก็เทรด เมื่อsideway ก็หยุดรอ

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

รวยจุดครั้งที่ 4


weekนี้ บางคนเทรดกันโดยไม่รู้ธรรมชาติของสกุลต่างๆ ถ้าเรียนรู้ธรรมชาติมันก็จะเทรดทิ้งไว้กินยาวแล้ว
ก่อนตลอดปิด วันนี้ ค่อยเปิดมาดู เป้าหมายก็ 161.8 เลยปิด แบบสบายๆ

ของฝาก เยนๆ

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

รวยจุดครั้งที่ 3



มองที่กราฟมองยังไงก็รู้ว่ามันขึ้น จะไปจับมันลงคงทำไม่ได้

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

รับๆต้านๆ รับไม่ให้ลง ต้านไม่ให้ขึ้น


เมื่อลงมารับก็ต้องเข้าใจ เมื่อขึ้นไปต้านก็ต้องเข้าใจ
เมื่อทะลุแนวรับ ก็จะวิ่งลงไปต่อลงไปหาแนวรับ ในอดีตต่อ
เมื่อทะลุแนวต้าน ก็จะวิ่งขึ้นไปต่อขึ้นไปหาแนวต้านใน อดีตต่อ

Trend

sideway

การเทรด

การก้าวบันได เมื่อเริ่มก้าวขั้นแรก ขั้นที่ 1 ให้อยู่เฉยๆก่อน
ต่อมาให้เริ่ม สังเกตุ ขั้นบันได ขั้นที่ 2 (ขั้น2 มักจะสูงกว่าขั้นแรก อยู่ที่ 23.6 38.2 ประมาณนี้)
สังเกตุ macd ตาม
มอง rsi
sto
แล้วก็ก้าวข้ามไปให้ถึง tp ๅ161.8 แล้วปิด rsi บอกว่า(มากกว่า70) อิ่มตัว เพื่อทำคลื่น 4 ก่อนไปสู่ คลื่น5 ย่อยต่อไป ในระยะสั้น

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550

แนวทาง

หลายคนมักจะสับสนกลับ ระบบ และใช้กันผิดๆแล้วก็ นึกคิดว่า เทคนิคเคิล ใช้ไม่ได้ผลและมี ข้อเสีย
แต่ถ้าเข้าใจการใช้ และหลักการของกฏของมันแล้ว จะเข้าใช้ว่า เรายังขาดรายละเอียดเล็กๆน้อยๆอีกมากมาย

ชีวิตจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อมองย้อนกลับไปข้างหลัง
แต่เราจะต้องใช้ชีวิตแบบเดินไปข้างหน้า *ซอเรน เดียการ์ด

ถ้าสามารถวิเคราะห์ความยุ่งเหยิงไร้ระเบียบที่ว่านี้ได้ คุณก็สามารถร่ำรวยขึ้นมาได้ *จอร์จ โซรอส

น่าสนใจของวันนี้


จะลงถึง 78.6 รึเปล่า ???

รวยจุด


เล่นระยะสั้น macd rsi พร้อมใจกันขึ้น up trend ก็กำลังขึ้น

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2550

รวยจุด ครั้งที่ 2

สิ่งที่สำคัญในการเทรด เมื่อมีกำไรที่พอใจอย่างพอเพียงแล้ว ก็รีบหนีจากตลาดให้เร็วที่สุด



google

Google